Thursday, December 13, 2007

ต้นพิกุล


ชื่อทั่วไป พิกุล

ชื่อสามัญ Bullet Wood

ชื่อวิทยาศาสตร์ - Mimusops elengi Linn.

วงศ์ - SAPOTACEAE

ชื่ออื่นๆ - แก้ว, ซางดง, กุน, ตันหยงแก้ว, ซางดง, กุน, พิกุลป่า, ตันหยง,พิกุลเถื่อน

ถิ่นกำเนิด - ประเทศที่มีอากาศร้อน อินเดีย พม่า มาเลเซีย พบตามป่าทางภาคใต้ และภาคตะวันออกของไทย

ประเภท - ไม้ยืนต้น รูปร่างลักษณะ ต้น เป็นไม้ยืนต้น สูง 10 - 15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปเจดีย์ ขณะที่ต้นยังเล็ก โตขึ้นเป้นทรงกลมหนาทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทามีรอยแตกตามยาวของลำต้​น ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี รูปไข่กว้าง 2 - 6 ซม. ยาว 7 - 15 ซม. ปลายใบแหลมเป็นติ่งขอบใบเป็นคลื่น ดอก ดอกเดี่ยว อยู่รวมกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบเลี้ยง 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 ชั้น กลีบดอกประมาณ 24 กลีบ เรียงซ้อนกันโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อย ดอกสีขาว เมื่อใกล้โรยสีเหลืองอม น้ำตาล ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี เหลือง รสหวานอมฝาด เมล็ด แบนรี ขนาด 1.5 เซนติเมตร เปลือกแข็ง

การขยายพันธ์ - โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม - ดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ชอบแดดจัด ทนต่อสภาพต่าง ๆ ได้ดี ขึ้นประปรายในป่าดิบทางภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

ประโยชน์ - ปลูกเป็นไม้ประดับและให้ร่มเงา ลำต้นใช้ในการก่อสร้าง ทำโครงเรือเดินทะเล เครื่องมือการเกษตร

- เปลือกต้น ต้มอมกลั้วคอ แก้เหงือกอักเสบ

- เนื้อไม้ที่ราลงมีสีน้ำตาลเข้มประขาว มีกลิ่นหอม เรียกว่า ขอนดอก ใช้บำรุง ตับ ปอด หัวใจ และบำรุงครรภ์

- ดอก มีกลิ่นหอมจัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอ น้ำมันหอมระเหยจากดอกใช้ทาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเ​นื้อ

- ผลสุก ใช้รับประทานได้

- เมล็ด ตำให้ละเอียดทำเป็นยาเม็ดสำหรับสวนเวลาท้องผู​ก